วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553


มะอึก


ลักษณะทั่วไป : มะอึกเป็นไม้ล้มลุกหลายปี และเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 80 - 150 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มคล้ายมะเขือพวง ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 4 ซม.จะเป็นสีขาวนวลเมื่อแก่ลำต้นจะมีหนาม แหนม ๆ และขนละเอียดขึ้นเต็มไปหมด
ใบ มีสีเขียวเรียงแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ขอบใบหยักเว้าลึกเข้าไปหาเส้นกลางใบ มีหนามแข็งอยู่บนเส้นใบ
ดอก เป็นดอกช่อ ดอกย่อย 3 - 5 ดอก ออกเป็นกระจุกตามบริเวณซอกใบกลีบดอก 5 กลีบสีขาวหรือสีม่วงอ่อนคนติดกันแต่ละกลีบขนาดเล็กปลายแหลมและเมื่อบานกลีบจะโค้งลง
ผลอ่อนสีเขียว มีขนยาวปกคลุมทั่วทั้งผล เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 - 9 ซม. เมื่อสุกจะค่อย ๆ เป็นสีเหลืองหรือสีเหลือง อมส้ม มีเมล็ดเรียงเป็นแถวอยู่ภายใน เมล็ดกลม จำนวนมาก


ประโยชน์ทางยา
รากมะอึก รสเย็นและรสเปรี้ยวเล็กน้อย สรรพคุณ แก้โทษจากน้ำดี (ดีฝ่อและดีกระตุก) แก้ไข้สันนิบาต แก้น้ำลายเหนียว กัดฟอกเสมหะ กระทุ้งพิษ ดับพิษร้อนภายใน ขนของผลมะอึกมาทอดกับไข่ให้เด็กรับประทานเพื่อขับพยาธิได้

ประโยชน์ทางอาหาร : ผลอ่อน ผลแก่และสุกเต็มที่ใช้รับประทานเป็นผักได้ ต้นมะอึกจะให้ผลในช่วงกลาง และปลายฤดูฝน

ประโยชน์ต่อสุขภาพ : ผลมะอึก มีรสเปรี้ยว เย็นมรสขื่นเล็กน้อยผลสุกจะมีรสเปรี้ยวจัด สรรพคุณ แก้สดุ้งผวาดีฝ่อ ผลมะอึก 100กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 53 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย3.6 กรัม แคลเซียม 26 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 4.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม

การปรุงอาหาร : คนไทยทุกภาครับประทานผลมะอึกเป็นผักและเครื่องปรุงรส ผลอ่อน ผลแก่หรือผลสุกสามารถรับประทานสดกับน้ำพริกได้ ผลสุกของมะอึกมีรสเปรี้ยวจัด นิยมนำมาใส่น้ำพริกโดยนำผลมะอึกที่มีสีเหลืองมาขูดหรือใช้ผ้าถูขนอ่อนให้ออกหมดเสียก่อน ล้างน้ำให้สะอาดและฝานเป็นแว่นบางๆขลกรวมกับน้ำพริกอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนำผลมะอึกไ ปปรุงกับอาหารประเภทแกงส้ม ส้มตำและชาวใต้ยังนิยมนำผลมะอึกมาใส่แกงเนื้อ แกงปลาย่างอีกด้วย







เทียนตาตั๊กแตน


ลักษณะ : พืชล้มลุกมีอายุ 1-2 ปี ลำต้นเรียบและตรง มีรูกลวงตลอดความยาว ใบประกอบแบบขนนก ดอกเป็นช่อออกจากฐานเดียวกันกลีบดอกโค้งเข้า ปลายกลีบมีหยักเว้า ผลรูปรี มีขอบนูนขึ้นมาเป็น 3 แนวที่ด้านหลังเมล็ด

สรรพคุณ : ขับลม บำรุงกำลัง แก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ แก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ แก้นอนสะดุ้งผวา แก้เสมหะพิการ แก้กำเดา

ยาพื้นบ้าน : ทั้งต้น ผสมผักชีลาวทั้งต้น ต้มน้ำดื่มแก้หวัด ตำรายาไทยใช้ ผล บำรุงกำลัง ขับลม เส้นท้องพิการ แก้นอนสะดุ้ง คลุ้มคลั่ง





ผักอีฮีนหรือผักขาเขียด



ลักษณะ : ผักขาเขียดเป็นไม้น้ำจำพวกผักตับ มีลักษณะเหมือนผักตบไทยแต่มีขนาดเล็กกว่า ใบเรียวยาวเกิดตามที่มีน้ำขัง เป็นพืชสะเทินน้ำสะเทินบกอายุฤดูเดียว ชอบขึ้นในที่น้ำท่วมขังตื้น ๆ เช่น ในนาข้าว ใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างหลายแบบตั้งแร่รูปแคบยาวคล้ายหอก จนถึงรูปไข่ปลายใบแหลมฐานใบเป็นรูปหัวใจ ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน แตกแบบสลับกันเป็น แถบก้านใบยาวโคนก้านแผ่ออกเป็นกาบ ดอกออกเป็นช่อตั้งตรง มีดอกย่อย 2-5 ดอก กลีบดอกสีม่วง มี 6 กลีบ มีเมล็ดมาก

ประโยชน์ : ทางอาหาร - ดอกอ่อนและก้านใบรับประทานได้

ทางยา - ใบ คั้นเอาน้ำดื่มแก้ไอ ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี





ถั่วแปบ



ลักษณะ : เป็นไม้เลื้อยล้มลุกอายุหลายปีลำต้นบิดมีขนเล็กน้อยสูง1.5-3.0เมตร บางพันธุ์ูสงได้ถึง9เมตรบางพันธุ์แคระหรือเป็นพุ่มใบประกอบ3ใบรูปไข่กว้างยาว7.5-15.0เซนติเมตรปลายเรียว แหลมดอกสีขาวแดงหรือม่วงออกตามซอกใบและปลายยอดช่อดอกแบบกระจะยาว3-2.5เซนติเมตรฝัก แบนยาว2.5-6.3เซนติเมตรเมล็ดแก่จัดสีดำหรือน้ำตาลเข้มแบนรูปขอบขนาน ยาว2เซนติเมตร


สรรพคุณ:ส่วนต่างๆ ที่ใช้ ฝักอ่อน เมล็ด บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้ ส่วนที่ให้สี คือ ใบ สีที่ได้ คือ เขียว เป็นไม้เลื้อย ลำต้น กลม มีขนคายทั่วไป ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบยาวประมาณ 10 ซม. ส่วนโคนบวม ใบมนมีขนาดใหญ่สุด รูปไข่กว้าง ขนาด 10-15 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายใบแหลม สองใบล่าง รูปไข่เบี้ยว ขนาดกว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-18 ซม. มีขนนุ่นปกคลุม ดอกสีม่วงหรือแกมขาวเล็กน้อย ออกเป็นช่อตั้ง ก้านช่อดอกยาว 20-50 ซม. ดอกย่อยเป็นแบบดอกถั่ว ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. กลีบตั้ง กลมแผ่ มีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบรองดอก เป็นถ้วย สีเทา เกสรผู้ อยู่รวมเป็นกลุ่ม ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกแกมแบน ปลายแหลม มีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม ขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-8 ซม.


ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม ผลและใบอ่อน รับประทานเป็นผักสดได้

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

ตับเต่านา

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชลอยน้ำอายุหลายฤดู ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงยึดพื้นดิน ชอบขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่นในนาข้าว ลำต้นเป็นไหลเรียวยาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลม ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ มีรากเกิดเป็นกระจุกทางด้านล่างของกลุ่มใบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีจางกว่าและกลางใบจะพองออกคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงลำต้น ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มี 3 กลีบ เกิดตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว
ประโยชน์ :

ต้นอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก

ทางยา :
แก้ลม แก้เสมหะ บำรุงธาตุไฟให้บริบูรณ์









กุ่มน้ำ



ลักษณะทั่วไป : กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ชอบขึ้นบริเวณริมตลิ่ง ใกล้น้ำจึงถูกเรียกว่า “กุ่มน้ำ” มีลำต้นคดงอและแตกกิ่งต่ำ ใบ สีเขียงแตกออกเป็นใบย่อย 3ใบตัวใบรูปหอกขอบขนานเช่นเดียวกับกุ่มบกแต่ใบแคบกว่าปลายใบ เรียวแหลม ดอกออกเป็นช่อกระจายตามยอดใบหรือซอกใบ เมื่อเริ่มออกดอกจะเป็นสีเขียวแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขามอมเหลือง เกสรตัวผู้สีม่วง ก่อนออกดอกจะผลัดใบ และผลิดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกลมรี สีนวล ผิวแข็ง ภายมีเมล็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้าอยู่จำนวนมาก


สรรพคุณทางยา
ราก
รสร้อน แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา และแก้เจ็บในคอ
ลูก รสขม แก้ไข้
เปลือกต้น รสร้อน แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้กระษัย


คติความเชื่อ คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรคต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูก เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัว มีฐานะ มีเงิน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้







ขี้กาขาว



ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ

ใบ : จะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายฟักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กว่าไม่กลวง

ดอก : จะโตและมีสีขาวล้วน

ผล : มีลักษณกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว เมื่อผลสุกจะมีสีแดง


การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามทางรถไฟ หรือตามไร่นามีมากในกรุงเทพฯ


ส่วนที่ใช้ : เถา ใบสด


สรรพคุณ : เถา ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงน้ำดี ล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเลือดไร และเหาได้ ใบสด ใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้นอยกว่าขี้กาแดง







กุยช่าย



ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ

การกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในไต้หวันมีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม


การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร: ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบ หรือผัดไทยก็ได้
ทางยา: ใบ มีฟอสฟอรัสสูง เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด














ดอกดิน


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูง 10-30 ซม. พบบริเวณทุ่งหญ้าเปิด ตามริมหนองน้ำของป่าพรุ ลำต้นเล็กเรียวบอบบาง ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวซีด ยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นตามข้อส่วนบนของลำต้น มีใบเกล็ด 2-3 ใบ ดอกมี 2-3 ดอก ที่ส่วนปลายยอดของลำต้นมีสีชมพูจนถึงสีม่วงอ่อนอมฟ้า ปลายกลีบดอกสีเหลืองหรือสีครีม ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตกเมื่อแก่ดอกดิน (เป็นสีแต่งอาหาร)

ประโยชน์ : อาหาร ดอก ก้านดอก ใช้นึ่งเป็นผักจิ้ม ดอกสดใช้แต่งสีอาหาร สีเป็นพวก aucubin ใช้ทำขนมดอกดิน สีของขนมที่ได้มีสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ หรือแต่งสีหน้าข้าวเหนียว ให้ได้สีม่วงดำเรียกว่า หม่าข้าว ทางยา ทั้งต้นและดอกทำยาชงแก้เบาหวาน






กล้วยนำว้า



ลักษณะทั่วไป:


ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย

ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป่อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว


การใช้ประโยชน:์ ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด


สรรพคุณ: ใช้ป้องกัน บำบัด โรคแผล ใน กระเพาะอาหารการที่ ผงกล้วยดิบ สามารถ ป้องกัน การเกิด แผลในกระเพาะอาหาร ได้ เพราะในกล้วย จะมีสาร ไปกระตุ้น ให้เซลล์ใน เยื่อบุกระเพาะ หลั่งสารMUCIN ออกมา ช่วยเคลือบกระเพาะ - รักษา อาการ ท้องเสีย การที่ กล้วยห่าม สามารถ แก้อาการท้องเสียได้ เพราะมี สารแทนนิน




ข่า
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นพิษในขนาดยา 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายาไทย จัดเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย




ขิง


ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 0.3-1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมเช่นเดียวกับไพล ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว ใบประดับสีเขียวอ่อน ผลเป็นผลแห้ง มี 3 พู


ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าขิงแก่ทั้งสดและแห้ง เป็นยาขับลม แก้อาเจียนแก้ไอขับเสมหะ และขับเหงื่อโดยใช้เหง้าสดขนาดนิ้วหัวแม่มือต้มกับน้ำหรือใช้ผงขิงแห้งชงน้ำดื่ม จากการทดลองกับอาสาสมัคร 36 คนพบว่าผงขิงป้องกันการเมารถเมาเรือได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (dimenhydrinate) ในเหง้ามีน้ำมันหอมระเหยประกอบด้วย menthol, bornelo, fenchone, 6-shogoal และ6-gingerol menthol, มีฤทธิ์ขับลม borneol, fenchone และ 6-gingerol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันนอกจากนี้พบว่าสารที่มีรสเผ็ดได้แก่ , 6-shogoal และ6-gingerol ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเก
















วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติแดน วรเวช ดานุวงศ์



ชื่อจริง วรเวช ดานุวงศ์

ชื่อเล่น แดน [ Dan]

วันเกิด วันพุธ ที่ 16 พฤษภาคม 2527 ปีชวด
ราศี พฤษภ
พี่น้อง 2 คน เป็นคนเล็ก พี่ชาย 1 คน ชื่อ วรุตม์ ดานุวงศ์ ( P’ เด็ด )
เชื้อชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ
ส่วนสูง / น้ำหนัก 177 เซนติเมตร / 60 กิโลกรัม
การศึกษา ป.1 – ป.6:โรงเรียนอนุบาลสุพรรณบุรี
ม.1 – ม.3:โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จ. สุพรรณบุรี
ม.4 – ม.6 : บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แผนการเรียน ศิลป์ – คำนวณ
อุดมศึกษา : วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
นิสัยส่วนตัว สนุกสนานเวลาสนิท ถ้าไม่สนิทจะเงียบ
อนาคต อยากเป็นโปรดิวเซอร์
บุคคลที่ศรัทธา พ่อ และ แม่เพื่อนสนิท พี่บีม , พี่บิ๊ก
สไตล์การแต่งตัว ง่ายๆ
ความสามารถพิเศษ เล่นกีต้าร์ , คีย์บอร์ด , กลองโฟร์ทอม ,กลองใหญ่ ,กลองแทร๊ก
อ่านทำนองเสนาะ (รางวัลที่ 3 ของประเทศ) , เป่าขลุ่ย
งานอดิเรก เล่นกีต้าร์
ของสะสม ผ้าเช็ดหน้าที่แฟนเพลงให้มา , ปิ๊กกีตาร์
โรคประจำตัว หวัดลงคอ
ส่วนที่ตัวเองชอบมากที่สุด ลักยิ้ม
แผลเป็น หน้าผาก
กีฬาที่ชอบ ฟุตบอล
อาหารจานโปรด ผัดซีอิ๊ว , ข้าวผัด
สเป็คผู้หญิงที่ชอบ ตาโต ผมยาว ขี้อ้อน รักเรา และ ครอบครัวเรา
เหตุผลที่ทำไมถึงชอบแดน วรเวช
-เป็นคนน่ารัก
-ขี้เล่น ร่าเริงสนุกสนาน
-รักครอบครัว
-ขยันทำงาน