วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553



ขี้กาขาว



ลักษณะทั่วไป :

ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน เถาจะกลมและโตขนาดเท่าก้านไม้ขีดหรือโตกว่าเล็กน้อย ตามข้อของเถาจะมีมือเกาะ

ใบ : จะมีขนหนากลมโต ดูผิวเผินแล้วจะคล้ายฟักเขียว แต่เถาและใบจะเล็กว่าไม่กลวง

ดอก : จะโตและมีสีขาวล้วน

ผล : มีลักษณกลมและโต มีผลขนาดเท่าผลมะนาว เมื่อผลสุกจะมีสีแดง


การขยายพันธุ์ : โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นดินที่รกร้างทั่วไป และตามทางรถไฟ หรือตามไร่นามีมากในกรุงเทพฯ


ส่วนที่ใช้ : เถา ใบสด


สรรพคุณ : เถา ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงถุงน้ำดี ลูกถ่ายแรงกว่าเถา บำรุงน้ำดี ล้างเสมหะ ดับพิษเสมหะและโลหิต รักษาตับปอดพิการ ใช้เถาต้มกับน้ำให้เดือดนาน ๆ ใช้เป็นยาฆ่าเลือดไร และเหาได้ ใบสด ใช้ตำสุมขม่อมเด็กเวลาเย็น รักษาอาการคัดจมูกได้ดี ใช้ปรุงเป็นยา ขี้กาขาวจะใช้นอยกว่าขี้กาแดง







กุยช่าย



ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ

การกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในไต้หวันมีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม


การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร: ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบ หรือผัดไทยก็ได้
ทางยา: ใบ มีฟอสฟอรัสสูง เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น